ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาเป็นเวลายาวนานมาก ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน คำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันจึงทำให้คำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแยกกันไม่ออก
๑. คำยืมภาษาจีนมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรีหรือจัตวา เช่น เจ๊ ก๋ง ตี๋ อู๋ อั๊ว
๒. คำยืมภาษาจีนมักมีพยัญชนต้นเป็นอักษรกลาง ได้แก่ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ เช่น ก๋ง เก๋ง ก๋วยเตี๋ยว เจ๊ง เจี๋ยน เก๊กฮวย แปะก๊วย เอี๊ยม กงเต๊ก บ๊วย เกี้ยมอี๋
๓. คำที่ประสมสระเสียงสั้น เช่น /เอียะ/ และ/ อัวะ/ ส่วนใหญ่เป็นคำยืมภาษาจีน เช่น เกี๊ยะ เจี๊ยะ ยัวะ
๔. ภาษาไทยกับภาษาจีนมีวรรณยุกต์ที่กำหนดความหมาย ถ้าเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนความหมายของคำก็เปลี่ยนด้วย เช่น ติ้นหงัน (คำจีน) แต่งงาน (คำไทย) บ๊อ (คำจีน) บ่ (คำไทย)
๑. คำที่เกี่ยวกับอาหารและขนม เช่น ก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ เย็นตาโฟ เกี้ยมอี๋ บะหมี่ เฉาก๊วย เต้าหู้ พะโล้ บะช่อ เจี๋ยน กวยจี๊ เกาเหลา แป๊ะซะ เต้าส่วน เต้าทึง เต้าฮวย เต้าหู้ยี้ ซาลาเปา
บ๊ะจ่าง ปาท่องโก๋ มี่สั้ว
๒. คำที่เกี่ยวกับเครือญาติ เช่น เจ๊ ก๋ง เตี่ย เฮีย ม่วย
๓. คำที่เกี่ยวกับผักผลไม้ เช่น เกี่ยมฉ่าย ขึ้นฉ่าย ตั้งโอ๋ กุยช่าย ก้งฉ่าย เก๊กฮวย บ๊วย หนำเลี้ยบ กวางตุ้ง
๔. คำที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ เช่น เก๊ะ เข่ง โต๊ะ เก้าอี้ ตั๋ว กอเอี๊ยะ อั้งโล่
๕. คำที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เช่น ขาก๊วย เกี๊ยะ กุยเฮง เอี๊ยม
๖. คำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของจีน เช่น งิ้ว กงเต๊ก เซียมซี แซยิด