เป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน รูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย ภาษาบาลี-สันสกฤตแพร่หลายเข้ามาในไทยเนื่องจากการรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะคำสอนทางพระพุทธศาสนาบันทึกด้วยภาษาบาลี-สันสกฤต นอกจากการรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ไทยยังได้รับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้ภาษาบาลี-สันสกฤตเข้ามาปะปนในภาษาไทยมาจนปัจจุบัน
คำภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกด ตัวตามในวรรคเดียวกัน
พยัญชนะบาลีมี ๓๓ ตัว แบ่งเป็นวรรคต่างๆ ดังนี้
๑ ๒ ๓ ๔ ๕
วรรค ก ก ข ค ฆ ง
วรรค จ จ ฉ ช ฌ ญ
วรรค ฏ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
วรรค ต ต ถ ท ธ น
วรรค ป ป ผ พ ภ ม
เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ
๑.๑ พยัญชนะตัวที่ ๑ ๓ ๕ เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น
๑.๒ ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๑ สะกด พยัญชนะตัวที่ ๑ หรือ ๒ เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ ปัจฉิม สัตตะ หัตถ์ บุปผา
๑.๓ ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๓ เป็นตัวสะกด พยัญชนะตัวที่ ๓ หรือ ๔ เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คพภ (ครรภ์)
๑.๔ ถ้าพยัญชนะตัวที่ ๕ เป็นตัวสะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ รวมทั้งพยัญชนะตัวที่ ๕ ด้วย เช่น องก์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัญญา สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมการ
๑.๕ เศษวรรค ตัว ย ล ส ตามหลังตัวเองได้ เช่น สัมผัสส อัยยิกา เวยย วลลี
๑.๖ พยัญชนะบาลี ตัวสะกด ตัวตามจะอยู่ในวรรคเดี่ยวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
บาลี ไทย บาลี ไทย
รัฏฐ รัฐ อัฏฐิ อัฐิ
วัฑฒน วัฒน เขตต เขต
ทิฏฐิ ทิฐิ ปุญญ บุญ
กิจจ กิจ นิสสิต นิสิต
วิชชา วิชา นิสสัย นิสัย
ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงหรือตัดรูปคำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์
ตัวอย่างคำบาลีที่นำมาใช้ในภาษาไทย
กีฬา กัญญา กิจ ขัตติยะ ขันธ์ บุคคล อวิชชา เมตตา บัลลังก์ กาฬ นิพพาน อักขระ ญาณ วิญญาณ บุญ ดุริยางค์ ดิรัจฉาน ตัณหา ปัจฉิม มนต์ เวช สัจจะ สิกขา อัคคี ทิฐิ มัชฌิม บุปผา อัพภาส มัจฉา อุปัฏฐาก วัตถุ วิตถาร กัณหา พิมพ์ ปัญญา