ใบความรู้

ภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทย

เขมรเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์กับไทยมาช้านานทั้งทางด้านการถ่ายทอดวัฒนธรรมและอารยธรรมซึ่งกันและกัน เขมรและไทยมีอาณาเขตติดต่อกันทำให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยอย่างแยกไม่ออก ในสมัยโบราณเราเรียกภาษาเขมรว่า “ภาษาขอม” ซึ่งถือกันว่าเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้บันทึกเรื่องราวศาสนาลงแผ่นหิน ใบลาน หรือแม้กระทั่งศิลาจารึกต่างๆ ในไทยก็พบว่าใช้ภาษาขอมบันทึกเช่นกัน

ลักษณะของคำภาษาเขมรในภาษาไทย

. คำภาษาเขมรมักใช้พยัญชนะ จ ร ล ญ เป็นตัวสะกด

ตัวอย่าง

จ สะกด เช่น เผด็จ เสด็จ สมเด็จ กาจ อาจ อำนาจ สำเร็จ สำรวจ ฉกาจ ตำรวจ

ร สะกด เช่น ควร จาร บังอร ขจร จร

ล สะกด เช่น ดล ถกล บันดาล ทูล กังวล ถวิล

ญ สะกด เช่น เพ็ญ เจริญ จำเริญ เชิญ อัญเชิญ ชาญ ชำนาญ ลาญ ผลาญ

. คำยืมภาษาเขมรจะมีพยัญชนะต้น ตัวเรียงกันในลักษณะของคำควบกล้ำ เมื่อออกเสียงไทยอ่านพยัญชนะสองตัวเรียงกันโดยมีสระอะที่พยางค์แรก ทำให้คำเดิมพยางค์เดียวกลายเป็นสองพยางค์ แต่จำไม่ปรากฏรูปสระให้เห็นในการเขียน และบางคำไทยอ่านออกเสียงแบบอักษรนำ

ตัวอย่าง

อ่านออกเสียงแบบอักษรนำ เช่น โตนด จมูก ไถง(ตะวัน) โขนง ขจี ไผท ขนอง(หลัง) เขนย โขมด ขยำ ฉนำ(ปี) เฉพาะ ผกา สดับ ขนุน ถนน

อ่านออกเสียงเรียงพยางค์ เช่น ไพร (ป่า) ขลาด ผลู (ทาง) กราล (ปู,ลาด)

. คำที่มาจากภาษาเขมร แล้วนำมาใช้ในภาษาไทยจะเป็นคำ พยางค์ พยางค์ต้นจะขึ้นต้นด้วย “บัง บัน บำ บรร ประ” เช่น บังอร บังเกิด บังควร บังอาจ บังคับ บังคม บังเหียน บันดาล บันเทิง บันทึก บรรทม บรรทุก บรรทัด บรรจุ บรรจบ บำเพ็ญ บำบัด บำรุง บำเรอ บำบวง บำนาญ ประกาย ประสาน

. คำที่มาจากภาษาเขมร พยางค์แรกมักขึ้นต้นด้วยสระอำ เช่น กำ คำ ชำ ดำ ตำ ทำ สำ

ตัวอย่าง

กำ เช่น กำเนิด กำหนด

คำ เช่น คำนัน คำนัล (เฝ้าเจ้านาย)

ชำ เช่น ชำรุด ชำนาญ ชำนิ (ขี่)

ดำ เช่น ดำริ ดำเรียล (ติเตียน)

ตำ เช่น ตำรวจ ตำหนิ

ทำ เช่น ทำนบ ทำเนียบ

สำ เช่น สำเร็จ สำรวล สำราญ สำคัญ

. คำเขมร ไทยนำมาใช้เป็นราชาศัพท์จำนวนมาก เช่น เสด็จ ถวาย ตรัส เสวย สรง ขนง ขนอง โปรด บรรทม

. คำเขมรที่แผลงเป็นคำไทย

ตัวอย่าง แผลงเป็น กระ เช่น

ขดาน แผลงเป็น กระดาน

ขจอก แผลงเป็น กระจอก

ขจัด แผลงเป็น กระจัด (ขับไล่)

ขจาย แผลงเป็น กระจาย

แผลงเป็น ประ เช่น

ผสม แผลงเป็น ประสม

ผสาน แผลงเป็น ประสาน

ผกาย แผลงเป็น ประกาย

ประ แผลงเป็น บรร เช่น

ประทม แผลงเป็น บรรทม

ประทุก แผลงเป็น บรรทุก

ประจง แผลงเป็น บรรจง


. คำเขมรในไทยบางคำเป็นคำโดดมีใช้ในไทยจนคิดว่าเป็นคำไทย เช่น แข (ดวงจันทร์) มาน(มี) อวย (ให้) บาย (ข้าว) เลิก (ยก) ตัก (วาง,ใส่)

ตัวอย่างคำเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย

. ไทยใช้ในคำราชาศัพท์โดยการรับคำราชาศัพท์เขมรมาใช้เป็นราชาศัพท์ไทยด้วย การรับรูปแบบการใช้ราชาศัพท์มาจากเขมร เช่น บรรทม เสด็จ เสวย สรง ถวาย ทูล ตรัส หรือนำคำว่า ทรง พระ ทรงพระ นำหน้าคำธรรมดาภาษาเขมร เช่น ทรงพระดำเนิน ทรงทราบ พระขนอง พระดำริ พระดำรัส ทรงพระเจริญ ทรงพระสำราญ ทรงพระสรวล

. ไทยใช้ภาษาเขมรในวรรณคดี เช่น ผกา (ดอกไม้) ขจร(ฟุ้งไป) แข(พระจันทร์) เชวง(รุ่งเรือง) ทรวง(อก,ใจ) พนม(ภูเขา) เพ็ญ(เต็ม) พเยีย (พวงดอกไม้) ไพร (ป่า) เมิล(ดู) สดำ(ขวา) แสะ (ม้า) ไถง(ตะวัน) จำงาย (ไกล) บาย(ข้าว) เสนง(เขาสัตว์)

. ไทยใช้ภาษาเขมรในคำทั่วๆ ไป เช่น ประชุม ขนุน ชนะ โดย ติ ทลาย เพลิง ผลัด กราบ บวช บรรทัด แถลง แผนก รำพึง เสบียง ขลัง กำลัง ครบ ฉลาด กระบือ