ใบความรู้

เรื่อง คำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย

ไทยและจีนเป็นชนชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาเป็นเวลายาวนานมาก ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ไทยมาจนถึงสมัยปัจจุบัคำภาษาจีนจึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากมายจากหลายสาเหตุทั้งความสัมพันธ์ทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยตามสภาพภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันจึงทำให้คำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแยกกันไม่ออก



ลักษณะของคำภาษาจีนในภาษาไทย

๑. คำยืมภาษาจีนมักมีเสียงวรรณยุกต์ตรีหรือจัตวา เช่น เจ๊ ก๋ง ตี๋ อู๋ อั๊ว

๒. คำยืมภาษาจีนมักมีพยัญชนต้นเป็นอักษรกลาง ได้แก่ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ เช่น ก๋ง เก๋ง ก๋วยเตี๋ยว เจ๊ง เจี๋ยน เก๊กฮวย แปะก๊วย เอี๊ยม กงเต๊ก บ๊วย เกี้ยมอี๋

๓. คำที่ประสมสระเสียงสั้น เช่น /เอียะ/ และ/ อัวะ/ ส่วนใหญ่เป็นคำยืมภาษาจีน เช่น เกี๊ยะ เจี๊ยะ ยัวะ

๔. ภาษาไทยกับภาษาจีนมีวรรณยุกต์ที่กำหนดความหมาย ถ้าเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนความหมายของคำก็เปลี่ยนด้วย เช่น ติ้นหงัน (คำจีน) แต่งงาน (คำไทย) บ๊อ (คำจีน) บ่ (คำไทย)


ขอบพระคุณที่มาภาพจาก : https://www.parentsone.com/chinese-new-year-name/

ตัวอย่างคำภาษาจีนที่นำเข้ามาใช้ในภาษาไทย

ขอบพระคุณที่มาภาพจาก : https://food.mthai.com/mafia-food/131734.html

๑. คำที่เกี่ยวกับอาหารและขนม เช่น ก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ เย็นตาโฟ เกี้ยมอี๋ บะหมี่ เฉาก๊วย เต้าหู้ พะโล้ บะช่อ เจี๋ยน กวยจี๊ เกาเหลา แป๊ะซะ เต้าส่วน เต้าทึง เต้าฮวย เต้าหู้ยี้ ซาลาเปา
บ๊ะจ่าง ปาท่องโก๋ มี่สั้ว


ขอบพระคุณที่มาภาพจาก :https://teen.mthai.com/variety/156856.html

๒. คำที่เกี่ยวกับเครือญาติ เช่น เจ๊ ก๋ง เตี่ย เฮีย ม่วย


ขอบพระคุณที่มาภาพจาก : https://puechkaset.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%8B/

๓. คำที่เกี่ยวกับผักผลไม้ เช่น เกี่ยมฉ่าย ขึ้นฉ่าย ตั้งโอ๋ กุยช่าย ก้งฉ่าย เก๊กฮวย บ๊วย หนำเลี้ยบ กวางตุ้ง


๔. คำที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ เช่น เก๊ะ เข่ง โต๊ะ เก้าอี้ ตั๋ว กอเอี๊ยะ อั้งโล่

ขอบพระคุณที่มาภาพจาก :https://bit.ly/2YegwAF

๕. คำที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เช่น ขาก๊วย เกี๊ยะ กุยเฮง เอี๊ยม

ขอบพระคุณที่มาภาพจาก :https://ngthai.com/cultures/6230/talking-with-chinese-opera-actors/

๖. คำที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของจีน เช่น งิ้ว กงเต๊ก เซียมซี แซยิด