ใบความรู้

เรื่อง ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย

ลักษณะของคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

. พยัญชนะสันสกฤตมี ๓๕ ตัว เหมือนกับพยัญชนะบาลี แต่เพิ่ม ศ ษ อีก ตัว ฉะนั้น คำที่มี ศ ษ ส่วนใหญ่ ที่นำมาใช้ในภาษาไทยจึงเป็นคำยืมภาษาสันสกฤต ยกเว้นคำไทยบางคำ เช่น ศอก ศึก เศิก เศร้า

คำสันสกฤตในไทย เช่น ศาลา ศีรษะ ศาสตร์ ศูนย์ ศิลา บุษบา บริษัท พิษ พรรษา พฤษภ มัศยา


. สระ ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา มีในภาษาสันสกฤต ไม่มีในภาษาบาลี เช่น พฤกษ์ ฤกษ์ ฤทธิ์ ทฤษฎี ฤาษี ไอศวรรย์ เสาร์ พฤกษา


. ภาษาสันสกฤต ไม่มีหลักการสะกดที่แน่นอน อย่างภาษาบาลี พยัญชนะใดสะกดจะเป็นพยัญชนะใดจะเป็นตัวตามก็ได้ หรือตัวสะกดตัวตามจะข้ามวรรคกันก็ได้ เช่น อักษร ปรัชญา อัปสร เกษตร

. คำที่มี “รร” อยู่ จะเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต เช่น สวรรค์ ธรรม กรรม บรรพต ภรรยา ทรรศนะ สรรพ บรรณารักษ์ ยกเว้นคำไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมร เช่น บรรทัด บรรทุก กรรไกร กรรแสง สรรเสริญ หรือคำไทย กรรเชียง (กระเชียง) กรรโชก (กระโชก) บรรดา (ประดา)

. คำที่มีตัว ร ควบกับพยัญชนะอื่น และใช้เป็นตัวสะกด เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น จักร มารค อัคร บุตร ศาสตร์ จันทร์ พุทรา ทรัพย์ มัทรี อินทรีย์



. คำที่มีพยัญชนะ “ฑ” มักเป็นคำภาษาสันสกฤต เช่น ครุฑ กรีฑา จุฑา จุฑามณี จุฑามาศ จุฑารัตน์ ยกเว้นคำว่า บัณฑิต มณฑล มณฑป จัณฑาล เป็นได้ทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต

ขอบพระคุณที่มาภาพจาก : https://sites.google.com/site/pzinziiwikanda/2-phasa-sanskvt-1

วิธีใช้คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย

. ไทยใช้คำบาลี-สันสกฤตในความหายเหมือนกัน เช่น

บาลี สันสกฤต ไทย

อัคคี อัคนี ไฟ

บุปผา บุษบา ดอกไม้

อักขร อักษร ตัวหนังสือ

อัคค อัคร ผู้ยิ่งใหญ่

. ไทยใช้คำบาลี-สันสกฤตในความหมายต่างกัน เช่น

บาลี สันสกฤต

รัฐ (ประเทศ) ราษฎร์ (ประชาชนในประเทศ)

ปัญญา (ความรอบรู้) ปรัชญา (วิชาแห่งความรู้)

อัจฉริยะ (ฉลาดเลิศ) อัศจรรย์ (แปลกประหลาด)

. ไทยเลือกใช้คำบาลี-สันสกฤตตามความนิยม เช่น

บาลี สันสกฤต ไทย

สิปป ศิลปะ ศิลปะ

ครุฬ ครุฑ ครุฑ

อาทิจจ อาทิตย อาทิตย์