ภาษาชวามลายู ปัจจุบันเรียกว่า ภาษาอินโอนีเซีย-ภาษามาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยมาเป็นเวลาช้านาน ภาษาชวา-มลายู เข้ามาในภาษาไทยได้นั้นก็เพราะการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันของคนไทยโดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดดภาคใต้ อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีเรื่องเด่นที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ไว้ คือ อิเหนา ซึ่งนับเป็นวรรณคดีที่ชักนำให้คนไทยยอมรับภาษาชวา-มลายูอย่างแพร่หลาย
๑. คำยืมภาษาชวา-มลายูส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์ คำพยางเดียวมีน้อยมาก เช่น ทุเรียน น้อยหน่า มังคุด สาคู โลมา
๒. ภาษาชวา-มลายูไม่มีเสียงควบกล้ำ เช่น กะปะ (งู) กุเรา,กุเลา (ปลา) ตะเบ๊ะ อังกะลุง
๓. ภาษาชวา-มลายู ไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์ แม้ระดับเสียงของคำเปลี่ยนไปแต่ความหมายของคำยังคงเดิม เช่น กระดังงา กุดัง สลัก กระจูด
๑. คำที่ใช้ในวรรณคดี เช่น ตุนาหงัน สะตาหมัน กระยาหงัน บาหยัน(ชื่อพี่เลี้ยงบุษบา) ระเด่น อสัญแดหวา อิเหนา กิดาหยัน บุหลัน
๒. คำที่ใช้เป็นชื่อพืช เช่น มังคุด ทุเรียน ปาหนัน (ดอกลำเจียก) บุหงา บุหงัน น้อยหน่า กระดังงา สาคู
๓. คำที่ใช้เป็นชื่อสัตว์ เช่น บุหรง (นกยูง) โลมา กระตั้ว โนรี อุรังอุตัง
๔. คำที่ใช้เป็นชื่อสิ่งของ เช่น ปั้นเหน่ง กระชัง
๕. คำที่ใช้ในศิลปวัฒนธรรม เช่น รองเง็ง อังกะลุง ตุนาหงัน บุหงารำไป (ดอกไม้ต่างๆ ปรุงด้วยเครื่องหอม) บูดู ยี่เก
๖. คำที่ใช้เกี่ยวกับสถานที่ เช่น เบตง ภูเก็ต มัสยิด กุดัง