ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วโลก การที่ไทยติดต่อค้าขายกับอังกฤษมาช้านานทำให้มีการยืมคำจากภาษาอังกฤษมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ตลอดจนเจ้านายและข้าราชการที่ได้ศึกษาภาษาอังกฤษและมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทำให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในภาษาไทยมากขึ้น
๑. เป็นคำหลายพยางค์ เช่น ไวโอลิน แบดมินตัน
๒. เขียนรูปคำตรงตามเสียงในภาษาเดิม เช่น ลอนดอน กรัม โอโซน
๓. เปลี่ยนคำและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เช่น
อิงลิช เป็น อังกฤษ
พาวดน เป็น ปอนด์
๔. ชนิดและหน้าที่ของคำเปลี่ยนไปจากเดิม คือ คำภาษาอังกฤษเดิมที่อยู่ในรูปคำนาม แต่ไทยเรานำมาใช้เป็นคำกริยา เช่น ไทยใช้ คอร์รับชัน ช็อปปิง ไดเอต ในรูปของคำกริยา ซึ่งทั้ง 3 คำนี้เป็นคำนามในภาษาอังกฤษ
๕. ปรับระบบเสียงของภาษาอังกฤษตามระบบเสียงของภาษาไทย เช่น เสียงพยัญชนะต้น /j/ เป็น /ch/ (ช) เช่น โชว์ ช็อก ปรับพยัญชนะท้ายให้เข้ากับตัวสะกด แม่กบ แม่กน และแม่กด เช่น กอล์ฟ (อ่านว่า ก๊อบ) แอปเปิล (แอ๊บ-เปิ้น) เทนนิส (เทน-นิด)
๖. ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตหรือการันต์กำกับพยัญชนะท้ายคำ เพื่อไม่ต้องการออกเสียง เช่น ไมล์ คาร์บอนไดออกไซด์ การันต์พยัญชนะกลางคำ เช่น วาล์ว การ์ด ชอล์ก ฟาร์ม
๗. คำที่มาจากภาษาอังกฤษมีการเพิ่มเสียงพยัญชนะควบกล้ำ คือ คำภาษาอังกฤษที่ใช้ในภาษาไทยจะมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำเพิ่มขึ้น ได้แก่ “ทร บร บล ฟร ฟล ดร เช่น ทรานซิสเตอร์ เบรก บรอกโคลี บล็อก ฟรี ฟรุตสลัด ฟลุก ไฟลท์ ดราฟต์ ดร็อป ซึ่งเสียงควบกล้ำดังกล่าวไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย
๘. มีการเพิ่มเสียงตัวสะกดหรือพยัญชนะท้าย คือ คำภาษาอังกฤษมีเสียงตัวสะกดเพิ่มคือ ฟ ล ซ ช ส ค ซึ่งเป็นเสียงเกิดใหม่ เช่น ปรู๊ฟ ทัฟ อีเมล พิซซา แคชเชียร์ โบนัส เทนนิส โฟกัส ออฟฟิศ
๑. คำที่เกี่ยวกับการกีฬา เช่น เทนนิส ฟุตบอล แบดมินตัน บาสเกตบอล
๒. คำที่เกี่ยวกับการดนตรี เช่น เปียโน ไวโอลิน ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน
๓. คำที่เกี่ยวกับอาหาร เช่น สเต๊ก สตู สลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทูนา เฟรนช์ฟราย
๔. คำที่เกี่ยวกับผลไม้ เช่น แอปเปิล สตรอว์เบอร์รี พลัม ราสป์เบอร์รี
๕. คำที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มและขนม เช่น ไอศกรีม คุกกี้ เค้ก ไวน์ เบียร์ ช็อกโกแลต
๖. คำที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ เช่น เชิ้ต เน็กไท โซฟา ชอล์ก มอเตอร์ไซค์ ลิปสติก
๗. คำที่เกี่ยวกับวิชาการ เช่น อะตอม เรดาร์ พลาสติก วัคซีน ออกซิเจน คลอโรฟิลล์ โควตา โครโมโซม