๑. พยัญชนะสันสกฤตมี ๓๕ ตัว เหมือนกับพยัญชนะบาลี แต่เพิ่ม ศ ษ อีก ๒ ตัว ฉะนั้น คำที่มี ศ ษ ส่วนใหญ่ ที่นำมาใช้ในภาษาไทยจึงเป็นคำยืมภาษาสันสกฤต ยกเว้นคำไทยบางคำ เช่น ศอก ศึก เศิก เศร้า
คำสันสกฤตในไทย เช่น ศาลา ศีรษะ ศาสตร์ ศูนย์ ศิลา บุษบา บริษัท พิษ พรรษา พฤษภ มัศยา
๒. สระ ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา มีในภาษาสันสกฤต ไม่มีในภาษาบาลี เช่น พฤกษ์ ฤกษ์ ฤทธิ์ ทฤษฎี ฤาษี ไอศวรรย์ เสาร์ พฤกษา
๓. ภาษาสันสกฤต ไม่มีหลักการสะกดที่แน่นอน อย่างภาษาบาลี พยัญชนะใดสะกดจะเป็นพยัญชนะใดจะเป็นตัวตามก็ได้ หรือตัวสะกดตัวตามจะข้ามวรรคกันก็ได้ เช่น อักษร ปรัชญา อัปสร เกษตร
๔. คำที่มี “รร” อยู่ จะเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต เช่น สวรรค์ ธรรม กรรม บรรพต ภรรยา ทรรศนะ สรรพ บรรณารักษ์ ยกเว้นคำไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมร เช่น บรรทัด บรรทุก กรรไกร กรรแสง สรรเสริญ หรือคำไทย กรรเชียง (กระเชียง) กรรโชก (กระโชก) บรรดา (ประดา)
๕. คำที่มีตัว ร ควบกับพยัญชนะอื่น และใช้เป็นตัวสะกด เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น จักร มารค อัคร บุตร ศาสตร์ จันทร์ พุทรา ทรัพย์ มัทรี อินทรีย์
๖. คำที่มีพยัญชนะ “ฑ” มักเป็นคำภาษาสันสกฤต เช่น ครุฑ กรีฑา จุฑา จุฑามณี จุฑามาศ จุฑารัตน์ ยกเว้นคำว่า บัณฑิต มณฑล มณฑป จัณฑาล เป็นได้ทั้งภาษาบาลีและสันสกฤต
๑. ไทยใช้คำบาลี-สันสกฤตในความหายเหมือนกัน เช่น
บาลี สันสกฤต ไทย
อัคคี อัคนี ไฟ
บุปผา บุษบา ดอกไม้
อักขร อักษร ตัวหนังสือ
อัคค อัคร ผู้ยิ่งใหญ่
๒. ไทยใช้คำบาลี-สันสกฤตในความหมายต่างกัน เช่น
บาลี สันสกฤต
รัฐ (ประเทศ) ราษฎร์ (ประชาชนในประเทศ)
ปัญญา (ความรอบรู้) ปรัชญา (วิชาแห่งความรู้)
อัจฉริยะ (ฉลาดเลิศ) อัศจรรย์ (แปลกประหลาด)
๓. ไทยเลือกใช้คำบาลี-สันสกฤตตามความนิยม เช่น
บาลี สันสกฤต ไทย
สิปป ศิลปะ ศิลปะ
ครุฬ ครุฑ ครุฑ
อาทิจจ อาทิตย อาทิตย์